สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Lithuania) |
| • ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีเลเซอร์ มีความเร็วอินเตอร์เน็ตอันดับต้นของโลกแรงงานมีฝีมือ ค่าจ้างแรงงานต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิก EU อื่น ๆ • มีท่าเรือไคลเปดา (Klaipeda Port) เป็นเส้นทางเชื่อมกับท่าเรือของประเทศยุโรปอื่น ๆ รวมทั้งมีเขตเศรษฐกิจพิเศษไคลเปดา (Klaipeda Free Economic Zone) ซึ่งมีบริษัทไทยเข้าไปลงทุน • เป็นสมาชิก EU ASEM และองค์กรในยุโรปสำคัญ ๆ เช่น NATO OSCE • ความสัมพันธ์ไทยกับลิทัวเนียเป็นไปอย่างราบรื่นและมีพลวัตที่สุดในกลุ่มประเทศบอลติก ล่าสุด สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนลิทัวเนียอย่างเป็นทางการตามคำทูลเชิญของประธานาธิบดีลิทัวเนีย ระหว่างวันที่ 14-15 เมษายน 2559 |
ข้อมูลทั่วไป |
พื้นที่ | 65,300 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.) | ประธานาธิบดี | นางสาวดาเลีย กรีบาวสเคท (Miss Dalia Grybauskaite) |
เมืองหลวง | Vilniaus | นายกรัฐมนตรี | นายอัลเกดัส บัทเกเวเชียส (Mr. Algirdas Butkevičius) |
ประชากร | 3 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | ลินัส ลิงเกเวเชียส (Linas Linkevičius) |
ภาษาราชการ | ลิทูเนียน | วันชาติ | 16 กุมภาพันธ์ |
ศาสนา | คริสต์ ร้อยละ 77.2 (กายโรมันคาทอลิก) คริสต์ ร้อยละ 4.1 (นิกายออร์ทอด็อกซ์) คริสต์ ร้อยละ 0.6 (นิกายลูเทอแรน) อื่น ๆ ร้อยละ 18.1 (ไม่นับถือศาสนาใด) | วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย | 9 เมษายน 2536 (ค.ศ. 1993) |
ข้อมูลเศรษฐกิจ |
GDP | 47.17 ล้าน USD (ไทย 455.22 ล้าน USD) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560) | สกุลเงิน | 1 EUR = 38.88 บาท |
GDP per Capita | 16,680.7 USD (ไทย 6,593.8 USD) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560) | อัตราเงินเฟ้อ | ร้อยละ 3.7 (ไทย ร้อยละ 0.7) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560) |
GDP Growth | ร้อยละ 3.8 (ไทย ร้อยละ 3.9) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560) | | |
ทรัพยากรสำคัญ | ไม้ อำพัน เชื้อเพลิงหุงต้ม |
อุตสาหกรรมหลัก | การผลิตอาหาร ยา ไม้ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ เครื่องจักรทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ |
สินค้าส่งออกที่สำคัญ | ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร |
ตลาดส่งออกที่สำคัญ | เอสโตเนีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ลัตเวีย เยอรมนี รัสเซีย |
สินค้านำเข้าที่สำคัญ | ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ โลหะ |
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ | เนเธอร์แลนด์ ลัตเวีย โปแลนด์ เยอรมนี รัสเซีย |
สถิติที่สำคัญไทย-สาธารณรัฐลิทัวเนีย |
มูลค่าการค้า | 37.5 ล้าน USD ไทยส่งออก 23.89 ล้าน USD นำเข้า 13.61 ล้าน USD จึงได้เปรียบดุลการค้า 10.28 ล้าน USD (ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปี 2560) |
สินค้าส่งออก | 10 อันดับแรก ได้แก่ (1) เส้นใยสังเคราะห์ (2) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (3) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล (4) ผลิตภัณฑ์ยาง (5) เคมีภัณฑ์ (6) สิ่งทอ (7) ยางพารา (8) รถยนต์และอุปกรณ์ (9) ข้าว (10) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ |
สินค้านำเข้า | 10 อันดับแรก ได้แก่ (1) ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ (2) สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป (๓) เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน (4) ถ่านหิน (5) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (6) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (7) เคมีภัณฑ์ (8) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (9) ลวดและสายเคเบิล (10) สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ |
การลงทุน | ข้อมูลเงินลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ 1.94 ล้าน USD |
การท่องเที่ยว | ปี 2560 มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐลิทัวเนียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 10,750 คน (ลดลงร้อยละ 1 จากปี 2559) |
คนไทยในสาธารณรัฐลิทัวเนีย | อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล |
หน่วยงานไทยในสาธารณรัฐลิทัวเนีย | สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ (Vilniaus) |
หน่วยงานของสาธารณรัฐลิทัวเนียในไทย | อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล |